พระเบญจภาคี


พระซุ้มกอ
พระสมเด็จ

 




 



พระรอด


พระนางพญา
พระผงสุพรรณ

 


พระเบญจภาคี

ความหมายที่ 1          พระชุดเบญจภาคี คำว่า เบญจ แปลว่า 5 ภาคี แปลว่า ผู้มีส่วนร่วม หมายความว่า การนำเอาพระ 5 องค์มารวมกัน อันได้แก่
• พระสมเด็จวัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
• พระรอดมหาวัน จังวัดลำพูน
• พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี
• พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
• พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร

ความหมายที่ 2           หมายถึง  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 5 สมัย อันได้แก่   สมัยทวาราวดี ผสมลพบุรี ได้แก่ พระรอดเจ้า สร้างโดยฤๅษีนารอดจัดเป็นพระเครื่องที่มีความเก่าเป็นที่ 1 ในพระชุดพระเบญจภาคี และมีความสวยงาม ได้สัดส่วนเป็นหนึ่งในด้านสุนทรียภาพและศิลปะชั้นสูงคลาสสิก เสมือนจะมีชีวิต มีความรู้สึก ประกอบไปด้วยมวลสารอันประกอบไปด้วย ดินศักดิ์สิทธิ์ในการสร้างอันได้แก่ดินศิลาธิคุณ อันมีคุณสมบัติพิเศษ ในการสมานเนื้อว่าน พระธาตุกายสิทธิ์ และว่าน 108 ประการที่มีความหมายในตัวเอง มุ่งไปในทางคงกระพันชาตรี ที่มีความขลังอย่างลึกซึ้ง จากประสบการณ์ ครั้งแล้วครั้งเล่า ในสงครามอินโดจีน /สงครามเวียตนาม/หินร่องกล้าที่ทหารไทยได้ใช้มีประสพการณ์ อย่ามากมายจนมีคำพูดที่ว่า ใครได้ครองครองพระรอดถือเป็นผู้มีบุญบารมีสูงส่ง จึงเกิดนิยายต่างๆนาๆของเซียนพระ และ การปลอมพระรอดกันอย่างแพร่ หลาย เพื่อหลอก คนที่ ไม่เคยเห็นพระรอด แท้ การสร้างพระรอดนั้น ยังแฝงด้วยปรัชญาที่จารึกบนองค์พระเช่นเครื่องหมายพระราชลัญจกกรที่บริเวณ พระอุระด้านขวา ของพระรอดวัดจามเทวี ที่แสดงถึงอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของจามเทวีวงค์ แห่งหริภุญชัยนคร พระรอดถือเป็นเพชรน้ำหนึ่งของเมืองลำพูน มีพิมพ์หลักๆ ค้นพบ มี 5 พิมพ์ทรง อันได้แก่พิมพ์ใหญ่/พิมพ์กลาง/พิมพ์เล็ก/พิมพ์ต้อ/พิมพ์ตื้น / แต่ละพิมพ์ทรงก็แยกไปอีกหลายบล็อก แต่ดูภาพรวมๆ แล้ว จะ เหมือนกันในตำหนิ และพิมพ์ทรง