พระนางพญา

พระนางพญา   ตำนานพระนางพญาพิษณุโลก ศุภมัสดุพระศาสนายุกาลล่วงไปแล้วประมาณ 1501 ยังมีกษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองพิษณุโลก มีอัครมเหสีทรงพระนามว่า เบญจราชเทวี กาลนั้นพระสวามีทิวงคตไปเสียแล้ว ดำรงชีวิตอยู่แต่พระนางเบญจราชเทวี ได้ครอบครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ณ เมืองพิษณุโลกแทนพระสวามี
            ในลำดับนั้น มีศึกรามัญมาตั้งล้อมเมืองพิษณุโลก 4 ทิศ เพื่อจะตีเมืองพิษณุโลก เอาเป็นเมืองขึ้นในขอบขัณฑสีมา สมเด็จพระนางเจ้าฯจึงได้กะเกณฑ์โยธา และราษฎรพลเมืองทั้งชายหญิงให้เตรียมพร้อมคอยรับทัพรามัญ เพื่อปราบข้าศึกรามัญให้ราบคาบ ยังมีชีปะขาวอีกองค์หนึ่งมารับอาสาสมัครสมเด็จพระนางเจ้าเพื่อนำพระพุทธปฏิมากรเล็ก ๆ แจกจ่ายแก่ทหารที่จะปรามศึกรามัญให้พินาศไป สมเด็จพระนางเจ้าฯ จึงได้สั่งให้ตาชีปะขาวเข้าเฝ้า และตรัสถามว่า พระที่ท่านทำขึ้นนั้นป้องกันสรรพาวุธได้หรือไม่ ตาชีปะขาวจึงกราบทูลว่า ป้องกันสรรพาวุธได้ทุกอย่าง ตลอดทั้งเมตากรุณา และเป็นศรีสวัสดิ์มงคลทุกประการ สมเด็จพระนางเจ้าให้คำมั่นว่า ถ้าชนะศึกรามัญกลับมาเรียบร้อยแล้ว ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าสร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งขนานนามว่า วัดนางพญา แล้วให้เรียกเอาพระที่แจกจ่ายกลับคืนแล้วให้สร้างสถูปเจดีย์ คือพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทั้งนี้ให้มั่นคงตลอดทั้งพิมพ์พระสมเด็จพระนางเจ้าจึงรับคำ แล้วชีประขาวนำดินนั้นมาจากประเทศอินเดีย 4 แห่งคือ ดินที่สวนลุมพินีวันระหว่าเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวะทหะต่อกันที่พระองค์ประสูติแห่งหนึ่ง ดินที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์พฤกษ์ ตำบลอุรุเวลาแขวงเมืองพารานาสีแห่งหนึ่ง ดินที่แสดงประถมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพารานาสีแห่งหนึ่งและดินที่พระองค์ดับขันธ์ปรินิพาน แขวงเมืองกุสินาราแห่งหนึ่ง คือ ดินที่ประสูติ สีแดง ดินที่ตรัสรู้ สีเหลือง ดินที่ปฐมเทศนา สีเขียว ดินที่ปรินิพพาน สีดำ